วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บทความที่2โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์
เรื่อง ส่วนประกอบของฮาร์ดดิสก์





จัดทำโดย
เด็กชาย นราธิป  แซ่ตั้ง ชั้น ม.3/7 เลขที่ 11

เสนอ
ครู ชวลิต  มะสำอินทร์

                           รายงานโครงงานคอมพิวเตอร์ โครงงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา
วิชา โครงงานคอมพิวเตอร์ (ง23102)
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์)
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1



บทคัดย่อ
โครงงานเรื่องประเภทของคอมพิวเตอร์ นี้ จัดทําขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
1)  เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง 
ส่วนประกอบของฮาร์ดดิสก์
2)  เพื่อใช้เป็นสื่อในการศึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเรื่อง ส่วนประกอบของฮาร์ดดิสก์
จัดทาขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเอาความรู้ความเข้าใจไปใช้ในการเรียน ทั้งนี้ได้ทำการศึกษาค้นคว้าเนื้อหาความรู้ที่สนใจเกี่ยวกับเรื่อง ส่วนประกอบของฮาร์ดดิสก์


บทที่ 1
บทนำ
แนวคิด ที่มา และความสำคัญ

        อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย 
ปัจจุบัน มูลค่าส่งออกมากกว่า 1.4 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 32 ของมูลค่าการส่งออกของประเทศ               อุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมของประเทศที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในการประชุมเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2548 ให้จัดทำแผนปฏิบัติการปรับโครงสร้าง โดยตั้งเป้าหมายว่าอุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์จะเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่จะทำให้มูลค่าเพิ่มของภาคอุตสาหกรรมทั้งหมดหลังการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเพิ่มจาก 2.3 ล้านล้านบาทในปี 2547 เป็น 3.3 ล้านล้านบาทในปี 2551 เนื่องจากอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพสูงในด้านการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ประเทศ และความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลก



วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาค้นคว้าเรื่องที่สนใจเกี่ยวกับเรื่อง ส่วนประกอบของฮาร์ดดิสก์
2. เพื่อศึกษาให้เข้าใจกับ 
ส่วนประกอบของฮาร์ดดิสก์
ขอบเขตของโครงงาน
1. จัดทำโครงงานเรื่อง 
ส่วนประกอบของฮาร์ดดิสก์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ได้รับความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่สนใจเกี่ยวกับเรื่อง 
ส่วนประกอบของฮาร์ดดิสก์
2. ได้รู้เกี่ยวกับกับ
ส่วนประกอบของฮาร์ดดิสก์


บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
1 ความหมายของ
ส่วนประกอบของฮาร์ดดิสก์


ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk)
ฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญ และจำเป็นต้องมีในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง เพื่อเก็บข้อมูลไฟล์หรือโปรแกรมต่าง ๆ ฮาร์ดดิสก์ในปัจจุบันมีมากมายหลายยี่ห้อ มีความเร็วและความจุก็แตกต่างกัน ในการเลือกซื้อควรเลือกที่มีความจุ 4 GB ขึ้นไป เพราะโปรแกรมส่วนใหญ่จะใช้พื้นที่ค่อนข้างมาก ความเร็วของฮาร์ดดิสก์จะวัดกันที่เสี้ยวเวลาที่ฮาร์ดดิสก์ค้นหาข้อมูลหรือ Average Access Time ความเร็วของฮาร์ดดิสก์โดยทั่วไปอยู่ระหว่าง 10 Ms ถึง 19 Ms ตัวเลขยิ่งน้อยก็ยิ่งมีความเร็วที่มากขึ้น
ฮาร์ดดิสก์แบบติดตั้งภายในหรือติดตั้งอยู่กับเครื่องอาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Fixed Disk ไม่เหมาะจะถอดเข้าถอดออกหรือเคลื่อนย้ายบ่อย ๆ จะเสียหายง่าย หากต้องโอนย้ายข้อมูลจำนวนมาก เช่น นำข้อมูลจากที่บ้านไปที่ทำงาน ควรเลือกใช้ฮาร์ดดิสก์แบบพกพาจะดีกว่า เช่น Disk2Go
untitled
ประเภทของฮาร์ดดิสก์
IDE จะเป็นฮาร์ดดิสก์สำหรับคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า ๆ 386 – 486 ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลค่อนข้างช้าแต่ปัจจุบันมีการพัฒนาอยู่ในระดับที่ใช้งานได้ดี
E-IDE เป็นฮาร์ดดิสก์ที่ได้มีการการพัฒนาด้านความเร็วในการค้นหาข้อมูลมากขึ้นกว่าเดิม ความจุก็มากกว่า เริ่มใช่ในเครื่องระดับ 486 รุ่นปลาย ๆ เช่น 486DX4 และรุ่นเพนเทียม สามารถเชื่อมต่อฮาร์ดดิสก์ได้ถึง 4 ตัวในเครื่องเดียว ปัจจุบันความเร็วของฮาร์ดดิสก์ประเภทนี้จะอยู่ที่ประมาณ 33Mb/วินาที หรือเรียกอีกอย่างหนึ่ง Ultra DMA-33 แต่ก็มีเมนบอร์ดบางรุ่นที่สามารถรองรับความเร็วของฮาร์ดดิสก์รุ่นใหม่ที่มีความเร็วถึง 66Mb/วินาที หรือ Ultra DMA-66
SCSI เป็นฮาร์ดดิสก์ความเร็วสูง ทนทานและราคาแพง ปกติใช้สำหรับเครื่องแม่ข่ายหรือ Sever ที่ทำงานตลอดทั้งวันทั้งคืนเป็นเดือน ๆ โดยไม่มีการปิดเครื่อง สามารถเชื่อมต่อกันได้ถึง 7 ตัว

ส่วนประกอบของฮาร์ดดิสก์
1. ตำแหน่งต่อสายเคเบิ้ล จะมี 40 ขา หรือ 40 Pin สำหรับต่อสายรับส่งข้อมูลระหว่างเมนบอร์ดกับตัวฮาร์ดดิสก์ให้พิจารณาว่าขาที่ 1 อยู่ด้านใด ส่วนมากจะต่อฮาร์ดดิสก์กับสาย IDE 0 หรือ Primary IDE
2. ตำแหน่งต่อไฟเข้าฮาร์ดดิสก์
3. ตำแหน่งเซ็ตจัมเปอร์ซึ่งจะมี 2 แบบหลัก ๆ คือ Master สำหรับกำหนดให้ฮาร์ดดิสก์ตัวนั้น ๆ เป็นตัวหลักใช้สำหรับติดตั้งโปรแกรมต่าง ๆ เช่น Windows 95/98/Me ฯลฯ และ Slave สำหรับกำหนดให้ฮาร์ดดิสก์ตัวนั้น ๆ เป็นฮาร์ดดิสก์ตัวสำรองเก็บข้อมูลอย่างเดียว
ฟล็อปปี้ดิสก์ไดร์ฟ (Floppy Disk Drive)
ฟล็อปปี้ดิสก์ไดร์ฟเป็นอุปกรณ์สำหรับอ่านข้อมูลในแผ่นดิสก์เก็ต มีให้เลือก 2 ขนาด คือ ขนาด 3.5” นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน และ 5.25” ไม่ค่อยนิยมใช้เพราะว่าเคสในปัจจุบันที่ผลิตขึ้นไม่ค่อยมีไดร์ฟ ที่รองรับแบบ 5.25
hj 
ประเภทของฟล็อปปี้ดิสก์ไดร์ฟ
3.5 สำหรับอ่านและบันทึกข้อมูลลงในแผ่นดิสก์ขนาด 3.5
5.25 สำหรับอ่านและบันทึกข้อมูลลงในแผ่นดิสก์ขนาด 5.25
External FDD สำหรับอ่านและบันทึกข้อมูลลงในแผ่นดิสก์ประเภทติดตั้งภายนอก
เพื่อความสะดวกในการพกพา ส่วนมากจะใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทโน๊ตบุ๊ค
tt
ส่วนประกอบของฟล็อปปี้ดิสก์ไดร์ฟ
ส่วนประกอบต่าง ๆ ของฟล็อปปี้ดิสก์ไดร์ฟขนาด 3.5 มีส่วนประกอบต่าง ๆ ดังนี้
1. ช่องใส่แผ่น ดิสก์และปุ่มกดเพื่อดันแผ่นดิสก์ออก
2. ตำแหน่งสำหรับต่อสายแพรส่งข้อมูล ให้ตรวจดูว่าขาที่ 1 อยู่ด้านใด
3. ตำแหน่งสำหรับต่อสายไฟฟล็อปปี้ดิสก์ไดร์ฟเทปไดร์ฟ
หมายถึงเทป DAT (Digital Audio Tape) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่สามารถเก็บข้อมูลในปริมาณมาก ในรุ่นสูง ๆ สามารถบันทึกข้อมูลได้ถึง 70 GB และมีอัตราการถ่ายโอนข้อมูลเร็วหลายเมกกะไบต์ต่อวินาที แต่มีราคาสูงกว่าเทปทั่วไป
-อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบอ็อปติคัล (Optical Storage Devices) เป็นสื่อข้อมูลที่ใช้แสงเลเซอร์ในการอ่านข้อมูล ได้แก่ CD-ROM CD-RW/CD-R DVD

การติดตั้งฟล็อปปี้ดิสก์ไดร์ฟ
            1. ใส่ฟล็อปปี้ดิสก์ไดร์ฟเข้าไปในช่องที่ใช้ติดตั้งไดร์ฟและดันเข้าไปให้สุด
dd
2. ขันสกรูน็อตเพื่อยึดไดร์ฟเข้ากับตัวเคสให้แน่นโดยขันยึดทั้งสองด้าน
ju

ซีดีรอมไดร์ฟ (CD-ROM Drive)
ซีดีรอมไดร์ฟเป็นอุปกรณ์สำหรับอ่านข้อมูลในแผ่นซีดีรอม มีหลายแบบ ทั้งแบบติดตั้งภายในเครื่อง (Internal) ซึ่งนิยมใช้กันมาก และแบบติดตั้งภายนอก (External) มีหลายความเร็วให้เลือก เรามักจะเรียกซีดีรอมไดร์ฟตามความเร็ว เช่น 8x , 16x , 32x, 52x เป็นต้น ควรเลือกใช้เครื่องอ่านที่มีความเร็วไม่ต่ำกว่า 32x หรือเลือกที่เร็วที่สุดเท่าที่จะเลือกได้ เพื่อความสบายหูสบายตาเวลาดูหนังฟังเพลง เพราะการอ่านข้อมูลในแผ่นซีดีรอม จะทำได้รวดเร็วกว่า ภาพไม่กระตุก เสียงไม่สะดุด
ประเภทซีดีรอมไดร์ฟ
Internal CD-ROM Drive เป็นซีดีรอมไดร์ฟที่ติดตั้งภายใน นิยมใช้กันมากกว่าแบบอื่น ๆ เพราะมีราคาค่อนข้างถูก
External CD-ROM Drive เป็นซีดีรอมไดร์ฟที่ติดตั้งภายนอก ราคาแพงกว่าแบบติดตั้งภายใน แต่ความสะดวกกว่าเพราะสามารถนำไปใช้กับเครื่องอื่น ๆ ได้
CD-RW Drive เป็นซีดีรอมไดร์ฟที่ติดตั้งภายนอก ราคาแพงกว่าแบบติดตั้งภายใน แต่ก็ช่วยให้คุณสามารถทั้งอ่านและบันทึกข้อมูลลงแผ่น CD-R ได้ ซึ่งอาจทำเป็นแผ่นซีดีเพลง วีดีโอซีดี ก็ได้ มีให้เลือกทั้งแบบติดตั้งภายในและติดตั้งภายนอก

ส่วนประกอบของซีดีรอมไดร์ฟ
1. Open/Close Button ปุ่มควบคุมด้านหน้า เช่น ปุ่ม Eject สำหรับปิด/เปิดถาดสำหรับใส่แผ่นซีดี
2. Headphone Jack ช่อง Phone หรือแสดงเป็นสัญลักษณ์รูปหูฟังแทน เป็นช่องสำหรับต่อหูฟัง หรือสายสัญญาณเข้าลำโพง สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไม่มีการ์ดเสียง หากอยากฟังเพลงก็คงต้องใช้วิธีนี้แก้ขัดไปก่อน โดยนำไปเข้าเครื่องขยายเสียงอีกที ก็ดังลั่นสะใจไม่แพ้กัน
3. Headphone Volume Control ตัวควบคุมความดังค่อยของเสียงขณะ เล่นซีดีเพลง
4. Emergency Eject Hole เป็นรูพิเศษสำหรับเสียบเข็มหรือคลิปหนีบกระดาษเข้าไป เพื่อปลดล็อคจะได้เลื่อนถาดออกมาได้ ใช้ในกรณีที่มีแผ่นซีดีค้างอยู่ข้างใน แต่ดันลืมปิดเครื่องไปเสียก่อน
5. ตำแหน่งสำหรับต่อสายออดิโอ ซึ่งจะเชื่อมต่อไปยังการ์ดเสียง
6. จัมเปอร์สำหรับกำหนดให้ซีดีรอม Master หรือ Slave ซีดีรอมส่วนใหญ่ให้เซ็ตเป็นสลาฟ (Slave) (ตัวย่อ S=Slave , M=Master , C=Cable , Select)โดยถอดตัวจัมเปอร์มาเสียบคร่อมเข้าคู่ที่สอง หรือดูข้อความด้านบนประกอบว่าต้องคร่อมเข้าคู่ใด แต่ละตัวจะมีขาตัวละคู่
7. ตำแหน่งสำหรับต่อสายแพร์หรือสายรับข้อมูล จะมีข้อความบอกว่าขาที่ 1 อยู่ด้านใด
8. ตำแหน่งต่อสายไฟจากพาวเวอร์ซัพพลาย
แผ่นซีดีรอม (CD-R, CD-RW)
แผ่นซีดีรอมเป็นสื่อสำหรับบันทึกข้อมูลประเภทหนึ่ง ซึ่งแรก ๆ ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อบันทึกข้อมูลประเภทสื่อผสมที่มีทั้งภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง ข้อความ ฯลฯ เพราะหากบันทึกลงฮาร์ดดิสก์จะสิ้นเปลืองพื้นที่ไปมาก ครั้งจะบันทึกลงแผ่นดิสก์เก็ตก็เปลืองแผ่น เพราะต้องใช้แผ่นเป็นจำนวนมากแผ่นซีดีอาร์ 1 แผ่นสามารถเก็บข้อมูลได้เท่ากับฟล็อปปี้ดิสก์ประมาณ 450 แผ่น ในซีดีรอมหนึ่งแผ่นสามารถบันทึกข้อมูลได้ประมาณ 650 Mb ปัจจุบันนิยมใช้บันทึกไดรเวอร์หรือโปรแกรมต่าง ๆ โดยเฉพาะโปรแกรมก๊อปปี้ทั้งหลาย และโปรแกรมประเภท CAI หรือโปรแกรมช่วยสอน เช่น CAI สอนวิธีใช้โปรแกรม Word , Excel , PowerPoint ฯลฯ

ประเภทของแผ่นซีดีรอม
สำหรับประเภทของแผ่นซีดีรอม จะขอแบ่งอย่างไม่เป็นทางการ หรือแบ่งตามชื่อเรียกในท้องตลาดดังนี้
แผ่นทอง เป็นศัพท์ที่เรียกกันอย่างไม่เป็นทางการ สำหรับแผ่นซีดีรอมที่มีลักษณะสีขาวมีการสกรีนผิวหน้าซีดี ลองนึกถึงแผ่นซีดีเพลง ลักษณะจะคล้าย ๆ กันเพียงแต่บันทึกไฟล์ หรือบันทึกโปรแกรมลงไปแทนเพลงต่าง ๆ
แผ่นขาว เป็นศัพท์เรียกแผ่นซีดีรอมที่ใช้สำหรับบันทึกข้อมูลคล้าย ๆ เทปเปล่าแผ่นประเภทนี้จะมีความจุประมาณ 650 Mb
CD เป็นแผ่นคอมแพคดิสก์ที่บันทึกเพลงต่าง ๆ คุณภาพเสียงจะดีกว่าเทปมาก
CD-R หรือแผ่นคอมแพคดิสก์ที่สามารถบันทึกข้อมูลได้เพียงครั้งเดียว อาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า แผ่นทอง
CD-RW เป็นแผ่นคอมแพคดิกส์ที่สามารถบันทึกข้อมูลซ้ำได้ คล้าย ๆ กับแผ่นดิสก์เก็ตแต่มีความจุมากกว่า ส่วนเรื่องราคาแพงมากกว่าเช่นกัน และคุณภาพก็ต้องมีเครื่องอ่านแผ่นซีดีรอมที่สามารถอ่านและบันทึกข้อมูลได้ หรือ CD-RW Drive จึงจะสามารถใช้แผ่นประเภทนี้ได้

การติดตั้งซีดีรอม
1.เตรียมซีดีรอมไว้สำหรับติดตั้ง
ui
2.ด้านหลังซีดีรอม มีลักษณะคล้ายกับฮาร์ดดิสก์ต้องกำหนดจัมเปอร์ให้ถูกต้องก่อนการติดตั้ง แต่โดยส่วนใหญ่จะถูกกำหนดเป็น Slave
yu
3.สอดซีดีรอมไดร์ฟเข้าทางด้านหน้าเคสและดันเข้าไปให้ด้านหน้าไดร์ฟอยู่พอดีกับหน้ากากตัวเคส
y
4.ใช้ไขควงขันยึดน็อต เพื่อยึดไดร์ฟเข้ากับตัวเคสให้แน่น โดยให้ขันยึดทั้งสองด้าน

บทที่ 3
วิธีดำเนินงานโครงงาน
         ในการจัดทาโครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง 
ส่วนประกอบของฮาร์ดดิสก์ นี้ ผู้จัดทาโครงงานมีวิธีดาเนินงานโครงงาน ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
         3.1 วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือหรือคอมพิวเตอร์และฮาร์ดดิสก์
                  3.1.1 เครื่องคอมพิวเตอร์
                  3.1.2 
ฮาร์ดดิสก์
         3.2 ขั้นตอนการดำเนินงาน
                     3.2.1 คิดหัวข้อโครงงานเพื่อนาเสนอครูที่ปรึกษาโครงงาน
                  3.2.2 ศึกษาและค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สนใจ คือเรื่อง 
 ส่วนประกอบของฮาร์ดดิสก์ ว่ามีเนื้อหามากน้อยเพียงใด และต้องศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพียงใดจากเว็บไซต์ต่างๆ และเก็บข้อมูลไว้เพื่อจัดทำเนื้อหาต่อไป
                     3.2.5 ปฏิบัติการจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง ส่วนประกอบของฮาร์ดดิสก์ โดยการให้ติดตั้งฮาร์ดดิสก์
3.2.6 นำเสนอรายงานความก้าวหน้าเป็นระยะๆ โดยแจ้งให้ครูที่ปรึกษาโครงงานเข้าไปตรวจความก้าวหน้าของโครงงานผ่านเว็บไซต์ http://www.slideshare.net/cucumberptw/ss-25372018 
 ซึ่งครูที่ปรึกษาจะให้ข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อให้จัดทำเนื้อหาและการนำเสนอที่น่าสนใจต่อไป ทั้งนี้เมื่อได้รับคำแนะนำก็จะนามาปรับปรุง แก้ไขให้เป็นที่สนใจยิ่งขึ้น
 3.2.7 จัดทำเอกสารรายงานโครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่องซอฟแวร์ระบบ โดยนำเสนอในรูปแบบไฟล์คอมพิวเตอร์และนำฝากข้อมูลไฟล์
                     3.2.8 ประเมินผลงาน โดยการนำเสนอ แล้วให้ครูที่ปรึกษาประเมินผลงาน และให้เพื่อนๆ ผู้สนใจเข้าร่วมประเมิน โดยการกรอกแบบประเมิน
                     3.2.9 นำเสนอผ่านเว็บบล็อก ที่
http://www.slideshare.net/cucumberptw/ss-25372018เพื่อให้ผู้สนใจศึกษาหาความรู้ต่อไป

บทที่ 4
ผลการดำเนินงานโครงงาน
         การจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง ส่วนประกอบของฮาร์ดดิสก์ นี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาค้นคว้าเรื่องที่สนใจเกี่ยวกับเรื่อง 
ส่วนประกอบของฮาร์ดดิสก์ และเพื่อศึกษาให้เข้าใจกับส่วนประกอบของฮาร์ดดิสก์ซึ่งมีผลการดาเนินงานโครงงาน ดังนี้
โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง ส่วนประกอบของฮาร์ดดิสก์ นี้ ผู้จัดทำได้เริ่มดำเนินงานตาม
4.1 ผลการศึกษา 
ส่วนประกอบของฮาร์ดดิสก์
           ขั้นตอนการดำเนินงานที่เสนอในบทที่ 3 แล้ว สมาชิกทุกคนมีความรู้มีความเข้าใจเกี่ยวกับ
ส่วนประกอบของฮาร์ดดิสก์เป็นอย่างดี และยังสามารถประกอบฮาร์ดดิสก์ให้กับคอมพิวเตอร์ได้อีกด้วย






ทที่ 5
สรุปผลการดำเนินงาน และข้อเสนอแนะ
การจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง
 ส่วนประกอบของฮาร์ดดิสก์  นี้สามารถสรุปผลการดำเนินโครงงาน และข้อเสนอแนะ ดังนี้
5.1 การดำเนินงานจัดทำโครงงาน
                   5.1.1.1 เพื่อ
ศึกษาค้นคว้าเรื่องที่สนใจเกี่ยวกับเรื่อง
 ส่วนประกอบของฮาร์ดดิสก์ 
                      5.1.1.2 เพื่อศึกษาให้เข้าใจกับ
 ส่วนประกอบของฮาร์ดดิสก์ 
           5.1.1.3 วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือหรือคอมพิวเตอร์และ
 ส่วนประกอบของฮาร์ดดิสก์ 
                       5.2.1.3.1 เครื่องคอมพิวเตอร์
                       5.2.1.3.2
 ส่วนประกอบของฮาร์ดดิสก์ 
5.2 สรุปผลการดำเนินงานโครงงาน
           ขั้นตอนการดำเนินงานที่เสนอในบทที่ 3 แล้ว สมาชิกทุกคนมีความรู้มีความเข้าใจเกี่ยวกับ
 ส่วนประกอบของฮาร์ดดิสก์ เป็นอย่างดี และยังสามารถประกอบฮาร์ดดิสก์ให้คองพิวเตอร์ได้อีกด้วย ซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้
5.3 ข้อเสนอแนะ
           5.3.1 ข้อเสนอแนะทั่วไป
                       5.3.1.1 ควรมีเนื้อหารที่หลากหลายและครอบคุมกว่านี้
                       5.3.1.2 ควรใช้เวลาให้น้อยลงในการดำเนินโครงงาน
           5.3.2 ปัญหา อุปสรรค และแนวทางในการพัฒนา
                       5.3.2.1 เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอกับการทำโครงงานจะทำให้ช้า จึงทำให้การศึกษาเรียนรู้ล่าช้าตามไปด้วย
                       5.3.2.2 เพื่อนบางคนเรียนรู้ค่อนข้างช้า ทำให้ต้องเสียเวลาในการเรียนรู้ เพราะครูผู้สอนไม่สามารถสอนเนื้อหาเพิ่มเติมได้


บรรณานุกรม
สืบค้นเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2557 
แหล่งข้อมูลจาก http://phatthanaphong.wordpress.com/2012/08/15/%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C-%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%88/


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น